วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

AutoCAD ง่ายกว่าที่คิด เรียนรู้จากแบบฝึกหัด...


แบบฝึกหัดที่ให้ลองทำคือ ชิ้นงานจากภาพด้านบนค่ะ พร้อมหรือยังคะ..เตรียมเปิดโปรแกรมเข้าสู่หน้าจอของการทำงานเลยนะคะ...


รูปด้านล่างนี้คือโจทย์สำหรับแบบฝึกหัดนี้ค่ะ



เริ่มต้นตั้งค่าหน้ากระดาษ ด้วยคำสั่ง limits หรือ เรียกคำสั่งจากเมนูบาร์ format/drawing limits


Command: '_limits

Reset Model space limits:

Specify lower left corner or [ON/OFF] <0.0000,0.0000>:


Specify upper right corner <420.0000,297.0000>:


หลังจากได้หน้ากระดาษที่ทำจะทำงานแล้ว สร้างเลเยอร์ ขึ้น 3 เลเยอร์ โดยใช้คำสั่ง format/layer..


(1) sketch คือเส้นร่าง เลือกสีอะไรก็ได้ ในที่นี้เลือกสีขาว เลือก line type (ลักษณะเส้น) เป็นเส้น center (2) work เป็นเส้นที่ใช้สร้างชิ้นงาน (3) dim เส้นบอกขนาด


เรียกคำสั่ง ซูมหรือพิมพ์


Command: z ZOOM

Specify corner of window, enter a scale factor (nX or nXP), or

[All/Center/Dynamic/Extents/Previous/Scale/Window/Object] <real time>: a เลือก all เพื่อแสดงทั้งหมดของขนาดภาพหรือขนาดกระดาษนั่นเอง


ทีนี้ก้อเริ่มเขียนกันเลยนะคะ..

ขั้นแรกเราเริ่มด้วยการเขียนเส้นร่างเช่นเดียวกันกับการเขียนแบบด้วยมือ..โดยใช้คำสั่ง line



Command: _line Specify first point: กำหนดจุดเริ่มต้นของเส้น กด Enter


Specify next point or [Undo]: <Ortho on> กำหนดจุดถัดไป (กด F8 เพื่อเรียกใช้ ortho on เพื่อบังคับให้เส้นอยู่ในแนวตรงหรือฉากเท่านั้น กด Enter

Specify next point or [Undo]: กด Enter

Specify next point or [Close/Undo]: กด Enter


Command: _offset

Current settings: Erase source=No Layer=Source OFFSETGAPTYPE=0

Specify offset distance or [Through/Erase/Layer] <Through>: 250 กด Enter


Select object to offset or [Exit/Undo] <Exit>: เลือกเส้นอ้างอิงที่ต้องการ offset แล้ว กด Enter

Specify point on side to offset or [Exit/Multiple/Undo] <Exit>: เลือกด้าน ที่จะให้ offset ออกไป กด Enter

Select object to offset or [Exit/Undo] <Exit>: กด Enter

กด Enter อีกครั้งเพื่อเรียกใช้คำสั่ง เดิม

Command:

OFFSET

Current settings: Erase source=No Layer=Source OFFSETGAPTYPE=0

Specify offset distance or [Through/Erase/Layer] <250.0000>: 220


Select object to offset or [Exit/Undo] <Exit>: >: เลือกเส้นอ้างอิงที่ต้องการ offset แล้ว กด Enter

Specify point on side to offset or [Exit/Multiple/Undo] <Exit>: เลือกด้าน ที่จะให้ offset

Select object to offset or [Exit/Undo] <Exit>: กด Enter


Command: _offset

Current settings: Erase source=No Layer=Source OFFSETGAPTYPE=0

Specify offset distance or [Through/Erase/Layer] <220.0000>: 25




Command: _circle Specify center point for circle or [3P/2P/Ttr (tan tan

radius)]: t เพื่อเขียนวงกลมที่อ้างอิงจากเส้นสัมผัสสองเส้น กด Enter


Specify point on object for first tangent of circle: เลือกเส้นสัมผัสที่ 1

Specify point on object for second tangent of circle: เลือกเส้นสัมผัสที่ 2

Specify radius of circle: 25 กำหนดขนาดรัศมี


Command: _offset

Current settings: Erase source=No Layer=Source OFFSETGAPTYPE=0

Specify offset distance or [Through/Erase/Layer] <25.0000>:


Select object to offset or [Exit/Undo] <Exit>:

Specify point on side to offset or [Exit/Multiple/Undo] <Exit>:

Select object to offset or [Exit/Undo] <Exit>:


Command: _mirror

Select objects: เลือกรูปที่ต้องการ

Command: _mirror 2 found

Specify first point of mirror line: <Osnap on> เลือกเส้นอ้างอิงคือเส้นกึ่งกลางจุดแรก

Specify second point of mirror line: เลือกเส้นอ้างอิงคือเส้นกึ่งกลางจุดที่สอง

Erase source objects? [Yes/No] <N>: n (noไม่ลบรูปอ้างอิง, yes ลบรูปเดิมทิ้งคงไว้เฉพาะรูปที่สะท้อนกลับมา)



Command: _copy

Select objects: Specify opposite corner: 2 found


Select objects: เลือกรูปที่ต้องการ


Specify base point or [Displacement] <Displacement>: _qua of Specify second

point or <use first point as displacement>: เลือกจุดอ้างอิง..(กด ctrl+click ขวาเพื่อนเลือก onap quadrant มุมบน)

Specify second point or [Exit/Undo] <Exit>: เลือกจุดอ้างอิงปลายทางที่จุดตัดของเส้นร่าง



ใช้คำสั่ง line เพื่อขีดเส้นจากจุดสัมผัสวงกลมทั้งสามโดยใช้ onap tangent ช่วยบังคับให้ได้จุดสัมผัสของวงกลมที่พอดี

Command: _line Specify first point: _tan to เลือกวงกลมวงแรก

Specify next point or [Undo]: _tan to เลือกวงกลมวงที่สอง

Specify next point or [Undo]: กด Enter

จากนั้นเราจะใช้คำสั่งตัดเส้น เพื่อลบส่วนของวงกลมวงนอก ออกบางส่วนเพื่อให้เหลือเพียงเส้นโค้งรอบนอกเท่านั้น ด้วยคำสั่ง

Command: _trim

Current settings: Projection=UCS, Edge=None เลือกเส้นอ้างอิงในการตัด( ให้เลือกเส้นตรง)

Select cutting edges ... เลือกเส้นที่ต้องการตัดทิ้ง (เลือกวงกลมวงใหญ่ด้านใน)

Select objects or <select all>: 1 found ตัดทิ้งจนกว่าจะครบตามรูป จากนั้นกด Enter


จากนั้นลบเส้นร่างในส่วนของการเขียนวงกลมออกเพื่อไม่ให้สับสนเวลาเขียนสี่เหลี่ยมหรือเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจน

Command: _erase คำสั่งลบ

Select objects: 1 foundเลือกรูปหรือเส้นที่ต้องการลบ


Select objects: 1 found, 2 total เลือกรูปหรือเส้นที่ต้องการลบ


Select objects: 1 found, 3 total เลือกรูปหรือเส้นที่ต้องการลบ


Select objects : กด enter

เริ่มต้นเขียนเส้นล่างสำหรับรูปสี่เหลี่ยมอีกครั้ง

Command: _offset

Current settings: Erase source=No Layer=Source OFFSETGAPTYPE=0

Specify offset distance or [Through/Erase/Layer] <125.0000>: 30

ทำวิธีเดียวกันนี้ให้ได้ระยะตามเส้นร่างจนครบ

เขียนสี่เหลี่ยมด้วยคำสั่ง

Command: _rectang

Specify first corner point or [Chamfer/Elevation/Fillet/Thickness/Width]: เลือกมุมแรก

Specify other corner point or [Area/Dimensions/Rotation]: เลือกมุมที่สอง

ลบเส้นร่างทั้งหมดออกจะได้รูปตามนี้ค่ะ





กลับไปเฮอาหน้าบ้านเดอะแก๊งค์.....

AutoCAD ง่ายกว่าที่คิด ตอน คำสั่งเขียนวงกลม

Circle – วงกลม
การเขียนวงกลมวิธีที่ง่ายที่สุดและใช้กันแพร่หลาย คือ การกำหนดจุดศูนย์กลาง และ กำหนดขนาดของรัศมีวงกลม เช่น
เรียกคำสั่ง Circle / Draw > circle / ที่ช่องรับคำสั่ง จะขึ้นข้อความดังนี้
Command:Command: _circle Specify center point for circle or [3P/2P/Ttr (tan tan radius)]: กำหนดจุดศูนย์กลางของวงกลม ไว้ที่ใดก็ได้ค่ะ..ไม่บังคับ ตามใจท่านตรงไหนสวยจัดไปเลย..(อันนี้ตอนหัดทำนะคะ ไว้ทำงานจริงเราสามารถกำหนดโดยมีจุดอ้างอิงได้)
Specify radius of circle or [Diameter](100.0000): กำหนดรัศมีของวงกลม ถ้าเราทราบเส้นผ่าศูนย์กลางแต่ขี้เกียจกดเครื่องคิดเลขเพื่อหารสองให้ พิมพ์ D ก่อน กด ENter จากนั้นพิมพ์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้เลยค่ะ




และแบบใช้คำสั่งย่อย TTR - tan,tan,radius (วาดวงกลมให้สัมผัสกับเส้นที่กำหนด ) ในกรณีที่เราไม่สามารถทราบจุดศุนย์กลาง แต่มีเส้นสัมผัสอ้างอิง


เช่น เมื่อเราเรียกใช้คำสั่ง circle จากไอค่อน หรือ พิม์คำสั่งในช่อง command: จะขึ้นข้อความดังนี้

Command: _circle Specify center point for circle or [3P/2P/Ttr (tan tan
radius)]: t (พิมพ์ t เพื่อเรียกใช้หมวดคำสั่งย่อย )
Specify point on object for first tangent of circle: คลิกที่เส้นอ้างอิงเส้นแรก
Specify point on object for second tangent of circle: คลิกเส้นอ้างอิงเส้นที่สอง
Specify radius of circle <50.0000>: 100 พิมพ์ ขนาดของรัศมีวงกลม

จากภาพจะสังเกตได้ว่าวงกลมทั้งสองรูป ที่มีรัศมีแตกต่างกัน จะมีจุดศูนย์กลางที่แตกต่างกัน แต่แนวสัมผัสกันเส้นอ้างอิงคือแนวตรงกัน

กลับไปเฮอาหน้าบ้านเดอะแก๊งค์.....

AutoCAD ง่ายกว่าที่คิด ตอน คำสั่งเขียนเส้นโค้ง

คำสั่ง arc คือคำสั่งที่ใช้ในการเขียนเส้นโค้ง

มีคำสั่งย่อยที่ให้เราวาดเส้นโค้งได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมกับงาน ซึ่งถ้าเพื่อนๆ เรียกคำสั่งจากเมนูบาร์ จะสามารถเลือกกำหนดวิธีการสร้างไว้ล่วงหน้า ส่วนการเรียกด้วยบรรทัดคำสั่ง จะต้องทำไปทีละขั้น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

การเรียกคำสั่ง arc / draw > arc > /
รูปแบบคำสั่ง (เมื่อเรียกคำสั่งด้วยบรรทัดคำสั่ง)
Center / : ........................(เลือกคำสั่งย่อย)
- Center ถ้าเลือกคำสั่งย่อยนี้ บรรทัดต่อไปคือ
Center : ...........................(กำหนดจุดศูนย์กลางความโค้ง)
Start point : ......................(กำหนดจุดเริ่มต้นของเส้นโค้ง)
Angle / Length of chord / : (เลือกวิธีกำหนดจุดปลายของเส้นโค้ง)


Angle - กำหนดด้วยขนาดของมุมรองรับ ส่วนโค้ง
Length of chord – กำหนดด้วยความยาวคอร์ด
End point – กำหนดจุดปลายของส่วนโค้ง
- Start point ถ้าเลือกคำสั่งย่อยนี้ บรรทัดต่อไปคือ
Center / End / : ..........................(เลือกวิธีวาด)

Center – กำหนดให้จุดที่จะกำหนดต่อไปนี้ เป็นจุดศูนย์กลางความโค้งแล้วโปรแกรมจะถามหา มุมที่รองรับ ส่วนโค้ง,ความยาวคอร์ด หรือ จุดปลายส่วนโค้ง
End – กำหนดจุดปลายส่วนโค้ง
Second point – กำหนดจุดที่เส้นโค้งผ่าน(ไปหาจุดปลาย)
กลับไปเฮอาหน้าบ้านเดอะแก๊งค์.....

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

AutoCAD ง่ายกว่าที่คิด ตอน คำสั่งเขียนเส้น

ในตอนที่แล้วเรารู้จักหลักการกันแล้ว..ต่อไปก้อต้องเริ่มทำความรู้จักกับคำสั่งที่ใช้งานกันนะคะ..เริ่มด้วย..





Line – วาดส่วนของเส้นตรงในระนาบ
คำสั่งนี้จะวาดเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งตามที่ผู้ใช้กำหนด ในการเรียกคำสั่งแต่ละครั้งสามารถสร้างเส้นตรงได้หลายเส้นโดยแต่ละเส้นจะต่อเนื่องกันไป กล่าวคือ จุดปลายของเส้นแรกจะเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นต่อไป และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ใช้จะสั่งให้หยุด(ออกจากคำสั่ง) ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

เมนูคำสั่ง : Draw > line /
รูปแบบคำสั่ง :
1. Command : l ...................................(เรียกคำสั่ง)
2. Line from point : .............................(กำหนดจุดเริ่มต้น)
3. To point : ....................................(จุดปลายของเส้นแรก)
4. To point : ....................................(จุดปลายของเส้นที่สอง)
5. c (close): ....................................(ปิด รูป )

อธิบายการใช้คำสั่ง
1. เรียกคำสั่ง
2. กำหนดจุดเริ่มต้นของเส้นตรง
3. กำหนดจุดปลายของเส้นแรก
4. กำหนดจุดปลายของเส้นที่สอง(ถ้ามี) โดยเส้นที่สองนี้จะมีจุดเริ่มต้นที่จุดปลายของเส้นแรก(ในบรรทัดที่สอง)
5. กำหนดจุดสิ้นสุดของเส้น ให้อยู่ที่จุดแรก (เส้นที่เกิดหลังใช้คำสั่ง close นี้จะเป็นเส้นจาก จุดสุดท้าย ไปยังจุดเริ่มต้น)

นอกจากวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว..เราสามารถใช้คำสั่ง line เขียนเส้น โดยกำหบดระยะและมุม..ในกรณีที่เราทราบระยะและมุมแน่ชัด

ตัวอย่างจากรูปด้านล่าง









กลับไปเฮอาหน้าบ้านเดอะแก๊งค์.....





เริ่มต้น AutoCAD ง่ายกว่าที่คิด









การเขียนแบบใช้เป็นภาษาสากล เป็นระบบสร้างภาพเพื่อถ่ายทอดแบบที่อยู่ใน ความคิด หรือเพื่อช่วยเสริมให้การใช้คู่มือแนะนำการประกอบติดตั้งมีความถูกต้องแม่นยำ

งานเขียนแบบมีบทบาทสำคัญมาแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน อาชีพงานเขียนแบบได้แตกแขนง ออกไปอย่างมากมาย จนสามารถกำหนดเป็นลักษณะวิชาชีพงานเขียนแบบได้ ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของเราเอง ที่เริ่มต้นจาก เขียนแบบ สถาปัตยกรรม คือเขียนแบบบ้านนั่นเอง..แต่พลิกผันมาทำงานเขียนแบบ วิศวกรรม ซึ่ง ก้ออาศัยพื้นฐานการเขียนแบบเดียวกัน

ฉะนั้น เราจึงสรุปได้ว่า ถ้ามีพื้นความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เขียนแบบด้วยมือได้ อ่านแบบออก AutoCAD ง่ายนิดเดียว
ที่บอกว่าง่าย..ไม่ใช่ว่าเราเก่งนะ..

เพียงแต่ พยายามจะหาวิธี หรือเทคนิดเล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ สามารถเริ่มต้นเรียนรู้จากความเข้าใจ..มากกว่าท่องจำ..อะไรก้อตามที่เกิดจากความเข้าใจจะง่ายเสมอ..
ก่อนอื่น ต้องรู้จัก หลักการของ โปรแกรม Auto Cad


AutoCAD เป็น โปรแกรมไว้สำหรับเขียนแบบนั่นแหละ เปรียบเทียบกับการเขียนด้วยมือ ตรงที่ ดินสอขีดเส้น ปากกา ก็คือ เครื่องมือขีดเส้น เปรียบได้กับคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนรูปที่เป็น เส้นตรง

  • วงเวียน ก็คือ เครื่องมือเขียน วงกลมกับ เส้นโค้ง เปรียบได้กับคำสั่ง ที่ใช้ในการเขียน วงกลมและเส้นโค้ง

  • ยางลบ ก็คือ ปุ่ม delete กับ เครื่องมือ ตัดเส้นที่วิ่งตัดกัน

  • ไม้ที หรือ T-Slide เซต สเกล ก็คือ การพิมพ์ตัวเลขเพื่อบอกระยะ


วันนี้ขอจบตอนเริ่มต้นทำความเข้าใจกับโปรแกรมไว้เท่านี้ก่อนนะคะ..เดี๋ยวจะมาสอนเริ่มต้นเขียนในตอนหน้า




ลับไปเฮฮาที่หน้าเดิม...